วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดนตรีนาฎศิลป์ ม.1

หน่วยที่ 1 ดนตรีและบทเพลง
ประเภทดนตรี   แบ่งเป็น วงดนตรีไทย  วงดนตรีสากล  และวงดนตรีพื้นบ้าน
ประเภทวงดนตรีไทย แบ่งเป็น
3 ประเภทใหญ่ ๆ
               
1.
วงเครื่องสาย ประกอบด้วย วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายผสม วงเครื่องสายปี่ชวา
               
2.
วงปี่พาทย์ ประกอบด้วย วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์มอญ วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์เสภา
               
3.
วงมโหรี ประกอบด้วย วงมโหรีเครื่องเล็ก (เครื่องเดี่ยว)  วงมโหรีเครื่องคู่  และวงมโหรีเครื่องใหญ่
วงเครื่องสาย
                วงเครื่องสายไทย มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่มาพัฒนาเป็นวงเครื่องสายที่ชัดเจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น
                               
1. วงเครื่องสายเล็ก (เครื่องเดี่ยว) เครื่องดนตรีที่บรรเลงดำเนินทำนองและเครื่องดนตรีตีประกอบจังหวะอย่างละ 1
ชิ้น
                               
2.
วงเครื่องสายคู่
                วงเครื่องสายผสม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นำเครื่องดนตรีของต่างชาติมาร่วมบรรเลงในวงเครื่องสายด้วย เช่น ขิม เปียโน ไวโอลิน และเรียกชื่อวงตามเครื่องดนตรีที่นำเข้ามาผสม เช่น วงเครื่องสายผสมขิม
                วงเครื่องสายปี่ชวา เกิดจากการนำวงดนตรี
2 วง คือ วงเครื่องสายและวงกลองแขกมาผสมกัน เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4    แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า “วงกลองแขกเครื่องใหญ่”
วงปี่พาทย์  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นหลัก มีเครื่องเป่า คือ ปี่ เป็นประธาน แยกวิธีการผสมวงตามประเภทวงและจำนวนเครื่องดนตรี ดังนี้
                วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์สามัญใช้บรรเลงประกอบการแสดง และพิธีกรรมทั่วไป ใช้ไม้แข็งตี มีเสียงดังแกร่งกร้าว และกังวาน แบ่งเป็น
3
ขนาด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า  วงปี่พาทย์เครื่องคู่  วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
                วงปี่พาทย์ไม้นวม เครื่องดนตรีและขนาดเหมือนวงปีพาทย์สามัญ ที่แตกต่าง คือ ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่ เพิ่มซออู้เพื่อให้เสียงนุ่มขึ้น และระนาดเอกและระนาดเอกเหล็กใช้ไม้นวมตี
                วงปี่พาทย์มอญ นิยมใช้บรรเลงในงานศพ แบ่งเป็น
3
ขนาด คือ วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า  วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
                วงปี่พาทย์นางหงส์ เครื่องดนตรีและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์สามัญ แตกต่างเล็กน้อย คือ ใช้ปี่ชวาแทนปี่ในและปี่นอก  ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด  ใช้บรรเลงในงานศพอย่างเดียว ที่เรียกวงปี่พาทย์นางหงส์เพราะใช้เพลงนางหงส์เป็นหลักในการบรรเลง
                วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  ปรับปรุงขึ้นใหม่โดยได้แบบอย่างจากละครโอเปราของยุโรป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงค์ นำมาแสดงต้อนรับแขกเมืองครั้งแรกที่โรงละครดึกดำบรรพ์ จึงได้ชื่อว่าละครดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ที่บรรเลงจึงเรียก วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ด้วย
 
วงมโหรี  เป็นวงดนตรีที่นำวงปี่พาทย์ และวงเครื่องสายมารวมกัน มีการปรับเปลี่ยน ตัดทอนหรือเพิ่มเครื่องดนตรีบางอย่างบ้างเล็กน้อยเพื่อความไพเราะมากขึ้น
                วงมโหรีเครื่องเล็ก (เครื่องเดี่ยว) มีเครื่องดนตรีประเภทบรรเลงดำเนินทำนอง เครื่องดนตรีที่ตีประกอบจังหวะ อย่างละ
1
ชิ้น            
                วงมโหรีเครื่องคู่
                วงมโหรีเครื่องใหญ่ มีการผสมวงเหมือนวงมโหรีเครื่องคู่ทุกประการแต่เพิ่มดนตรีอีก
2
ชิ้น คือ ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก หรือเรียกว่า เพิ่ม หัว-ท้าย
               
ประเภทวงดนตรีสากล
                มีหลายประเภท เช่น วงซิมโฟนีออร์เคสตรา (
Symphony Orchestra)  วงดนตรีแจ๊ส( Jazz Band)  วงคอมโบ(Combo Band)  วงสตริง(String)  วงโยธวาทิต(Military Band
)
                วงซิมโฟนีออร์เคสตรา (
Symphony Orchestra)  เป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีหรือเครื่องกระทบ ขนาดวงมี 3
ขนาดได้แก่
                               
1. วงขนาดเล็ก (Small Orchestra) ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 40 – 60
คน
                               
2. วงขนาดกลาง (Medium Orchestra) ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 60 – 80
คน
                               
3. วงขนาดใหญ่ (Full Orchestra) ใช้ผู้บรรเลงประมาณ 80 – 110
คน
                วงดนตรีแจ๊ส  (
Jazz Band)
  เกิดจากพวกทาสนิโกรที่เมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเชียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนารูปแบบมาจากดนตรีของชาวแอฟริกันผสมกับแตรวงของชาวอเมริกา มีหลายลักษณะ เช่น บลูแจ๊ส  โมเดิร์นสไตส์  ป๊อปสไตส์ เป็นต้น
                วงคอมโบ (
Combo Band)
เป็นวงขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีน้อย ใช้บรรเลงในงานรื่นเริง ใช้บรรเลงบทเพลงได้ทุกประเภท
                วงสตริง (
String Band)
เป็นวงขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประเภทไฟฟ้าเป็นหลัก อาจมีเครื่องเป่าร่วมด้วยในบางครั้ง ส่วนมากใช้บรรเลงเพื่อฟัง เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
                วงโยธวาทิต (
Military Band) ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นหลัก มีเครื่องตีเป็นส่วนเสริม นิยมบรรเลงประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสวนสนาม เป็นต้น
ประเภทวงดนตรีพื้นบ้าน แบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ ดังนี้
               
1. วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
ใช้ประกอบการขับร้อง และการแสดงฟ้อนรำ ต่าง ๆ ของภาคเหนือ เช่น วงกลองแอว วงสะล้อซอซึง
               
2. วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
ใช้บรรเลงประกอบการแสดงพื้นบ้าน หรืองานพิธีกรรมต่าง ๆ มีจังหวะและลีลาที่รวดเร็ว กระฉับกระเฉง เช่น วงแคน วงหมอลำ วงโปงลาง
               
3. วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
มีหลายชนิด เช่น วงดนตรีที้ใช้บรรเลงประกอบการแสดงมโนราห์ และหนังตะลุง วงดนตรีที่ใช้ประการแสดง สิละ วงกาหลอที่ใช้บรรเลงในงานศพ วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงรองเง็ง
               
4. วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง เช่น วงกลองยาว หรือวงเทิดเทิง  หรือ วงเทิงบ้อง นิยมบรรเลงประกอบขบวนต่าง ๆ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
               
1. เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทย โน้ตไทยใช้พยัญชนะไทยหรือตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ และอ่านดังนี้
   แทนเสียง  โด,          แทนเสียง   เร,         แทนเสียง   มี,         แทนเสียง   ฟา,        แทนเสียง   ซอล,
   แทนเสียง   ลา,         แทนเสียง  ที
               
2
. เครื่องหมายและสัญลักษณ์ ทางดนตรีสากล
                กุญแจประจำหลักมีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้ มี
2
 ชนิด คือ
                               
1.
กุญแจประจำหลักซอล เรียกสั้น ๆ ว่า “กุญแจซอล” ใช้กันมาก ใช้บันทึกเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่มีระดับเสียงสูง ๆ
                                การเขียนกุญแจซอลบนบันทัด
5  เส้น ต้องเขียนหัวกุญแจซอลทับเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น ซึ่งมีอำนาจบังคับให้โน๊ตทุกตัวทุกลักษณะที่บันทำคาบเส้นที่ 2
มีชื่อว่า “ซอล” และมีระดับเสียงซอลเหนือเสียงศูนย์กลาง
                               
2.
กุญแจประจำหลักฟาเบส  เรียกสั้น ๆ ว่า “กุญแจซอล” ใช้บันทึกตัวโน๊ตที่มีระดับเสียงต่ำ ๆ
                                การเขียนกุญแจฟาบนบรรทัด
5 เส้น ต้องเขียนส่วนหัวของกุญแจฟาทับเส้นที่ 4 ของบรรทัด 5 เส้น มีอำนาจบังคับให้โน้ตทุกตัวทุกลักษณะที่บันทึกคาบเส้นที่ 4 มีชื่อว่า “ฟา” และมีระดับเสียงฟา
การเปรียบเทียบ เสียงร้อง และเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
               
ลักษณะเสียงขับร้องและเสียงของเครื่องดนตรีในบทเพลงต่าง ๆ เราสามารถสังเกตได้จากคุณภาพของเสียงที่เกิดจากลักษณะ ดังนี้
               
1.
วิธีการขับร้อง ผู้ขับร้องแต่ละคนมีคุณลักษณะของเสียงที่แตกต่างกัน มีผลมาจากเพศและวัย รวมถึงความสามารถเฉพาะตัว วิธีการขับร้องที่ถูกต้องจะส่งผลถึงคุณภาพเสียงที่ดี ควรมีลักษณะเบื้องต้น ดังนี้
                               
1.
การเปล่งเสียงออกมาเต็มที่ ถูกต้อง ชัดเจน ไม่ใช่การตะโกน
                               
2.
ร้องถูกต้องตามจังหวะดนตรีและทำนอง
                               
3.
แสดงอารมณ์ สีหน้า ท่าทางได้สอดคล้องกับลีลา หรือทำนองเพลง
               
2. เครื่องดนตรีที่ใช้ เครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีคุณลักษณะของเสียงแตกต่างกันแบ่งออกเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ คือ เครื่องดนตรีประเภทกำกับจังหวะ เครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง
                               
1.
บรรเลงตามจังหวะดนตรีและทำนองเพลงได้อย่างถูกต้อง
                               
2.
ปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงให้สอดคล้องกลมกลืนกัน
                               
3. บรรเลงตามเครื่องหมายทางดนตรีได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
บทเพลงสำหรับฝึกร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง
               
1.
บทเพลงสำหรับฝึกร้อง
                               
1.
บทเพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้าน มีทำนองง่าย ๆ ร้องโดยมีเครื่องดนตรีบางอย่างประกอบ หรือใช้การตบมือประกอบ นิยมร้องในเทศกาลหรืองานชุมนุมผู้คนในหมู่บ้านที่มารร่วมรื่นเริงกัน   เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ เช่น เพลงฟ้อนเงี้ยว  เพลงพื้นบ้านภาคอิสาน เช่นเพลงลำลา  เพลงพื้นบ้านภาคใต้ เช่น  บทอวยพร  เพลงพื้นบ้านภาคกลาง เช่นเพลงเรือ
                               
2. เพลงปลุกใจ  เป็นเพลงไทยสากล  ทำนองและจังหวะเนื้อร้องทำให้เกิดอารมณ์คึกคัก  โน้มน้าวจิตใจคนให้เกิดความคิด พลัง ความรักและความสามัคคี เช่น เพลงเราสู้
                                3. บทเพลงไทยเดิม  หมายถึง เพลงไทยที่มีการขับร้องด้วยวิธีการแบบไทย เช่นการเอื้อน การลงทรวง เป็นต้น พร้อมด้วยการบรรเลงดนตรีไทยไปด้วยในขณะที่กำลังขับร้องหรือบรรเลงเฉพาะดนตรีไม่มีการขับร้อง บทเพลงไทยเดิมที่นิยมร้องและบรรเลงกันในปัจจุบัน เช่น เพลงลาวดวงเดือน (ลาวดำเนินเกวียน)